Thursday, June 18, 2009

เปรม ติณสูลานนท์

เปรม ติณสูลานนท์

เปรม ติณสูลานนท์

เปรม ติณสูลานนท์

เปรม ติณสูลานนท์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และ เป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

Wednesday, June 17, 2009

บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รอดคดีแจกเบี้ยยังชีพแนบนามบัตร

บุญจงรอดคดีแจกเบี้ยยังชีพแนบนามบัตร

"บุญจง" รอดคดีแจกเบี้ยยังชีพ ผ้าห่ม แนบนามบัตร กกต.ระบุเป็นสิทธทำได้ ไม่ขัดกฎหมาย แม้แต่ใช้บ้านตัวเองก็ไม่ผิด

นาย สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีนายเรืองไกร กิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. ร้องเรียนนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทยและรมช.มหาดไทย กรณีที่มอบเงินงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ แจกผ้าห่มให้ผู้ยากไร้ ที่บ้านพัก ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา โดยอาจจะเป็นการก้าวก่าย แทรกแซงการทำงานของข้าราชการเพื่อผลประโยชน์ ซึ่งขัดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 (1) 268 และอาจจะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีตามมาตรา 106 (6) และ 182 (7) นอกจากนี้ยังเป็นการหาสมาชิกพรรคโดยมิชอบ ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 22

นายสุทธิพล กล่าวว่า กกต. มีมติเป็นเอกฉันท์ ตามที่คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน เสนอมา โดยเห็นว่า นายบุญจงไม่มีความผิด โดยเรื่องการใช้สถานะความเป็นรัฐมนตรีก้าวก่ายการทำงานนั้น กกต.เห็นว่า การจัดสรรเงินงบประมาณดังกล่าว เป็นเงินที่ส่วนราชการปฏิบัติตามระเบียบ และเป็นไปตามปกติ ไม่มีหลักฐานว่านายบุญจงใช้สถานะของตัวเองเข้าไปแทรกแซง เพราะในวันที่ 24 ม.ค. 2552 ซึ่งเป็นวันที่แจกนั้นนายบุญจงก็เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งไม่นาน และงบประมาณดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดที่อนุมัติในวันที่ 1 ธ.ค. 2551 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่นายบุญจงจะมารับตำแหน่ง

นายสุทธิพล กล่าวว่า ส่วนที่นายบุญจงใช้บ้านพักของตนเองเป็นสถานที่แจกเงินและผ้าห่มนั้น จากการสอบสวนทราบว่าแต่เดิมมีการวางแผนว่าจะใช้หอประชุมของที่ว่าการอำเภอ โชคชัยเป็นสถานที่แจก แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มแม่บ้านได้จองขอใช้หอประชุมในการซ้อมรำบวงสรวงท้าวสุรนารีไว้ก่อนเป็นเวลากว่าเดือนแล้ว อีกทั้งกลุ่มแม่บ้านที่จะรำถวายนั้นมีเป็นจำนวนมากถึง 400 คน และในวันดังกล่าวคาดว่าจะมีคนมาแสดงความยินดีกับการรับตำแหน่งเป็นจำนวนมาก นายอำเภอโชคชัย จึงขอให้ใช้บ้านพักของนายบุญจงแทน ซึ่งเรื่องนี้เป็นการดำเนินงานของส่วนราชการเองโดยนายบุญจงไม่ได้มีส่วนเข้า ไปก้าวก่ายแทรกแซงแต่อย่างใด อีกทั้ง ตามระเบียบของกรมประชาสงเคราะห์ ไม่ได้กำหนดหรือมีข้อปฏิบัติว่าจะต้องไปแจกที่ใด หน่วยงานที่ของบประมานจะเอาของไปแจกตามที่มอบหมายที่ใดก็ได้ นอกจากนี้เมื่อดูแผนที่แล้วพบว่าประชาชนที่มารับแจกของนั้น อยู่ใกล้บ้านของนายบุญจงมากกว่าที่ว่าการอำเภอโชคชัย นอกจากนี้การย้ายที่ก็เป็นการดูเรื่องความสะดวก ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่านายบุญจงใช้อำนาจหน้าที่ในการแทรกแซงการทำงานของราชการ

เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า สำหรับกรณีการแนบนามบัตรนั้น เมื่อพิจารณาแล้วฟังไม่ได้ว่านามบัตรของนายบุญจง และภรรยาที่แนบไปนั้น ไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเงินที่แจกเป็นเงินส่วนตัวของนายบุญจงและภรรยา อีกทั้งนามบัตรดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าเป็น รมช.มหาดไทย หรือเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยแต่อย่างใด

นายสุทธิพล กล่าวต่อว่า ส่วนที่ร้องเรื่องการแจกผ้าห่มนั้น จากการสืบสวนทราบว่า เงินที่นำมาซื้อผ้าห่มเป็นเงินส่วนตัวของนายบุญจงเองไม่ใช่เงินของราชการ โดยในชั้นสืบสวนมีการแสดงใบเสร็จการจัดซื้อผ้าห่ม อย่างไรก็ตามไม่สามารถมองได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันสามารถคำนวนเป็นเงินเพื่อจูงใจ ให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งให้ ที่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 53 เพราะในขณะนั้นยังไม่มีประกาศของ กกต.ให้มีการเลือกตั้ง นายบุญจงจึงเป็นสิทธิสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องใช้สถานะ ส.ส. หรือรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า นายบุญจงพูดหรือจูงใจคนมารับเงินให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้ และไม่มีหลักฐานว่ายบุญจงใช้ตำแหน่งไปกระทำการใดโดยมิชอบ

นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า ประเด็นเรื่องที่ถูกร้องว่าให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ เพื่อจูงใจให้ได้รับแจกสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยนั้น จากการสอบสวนทราบว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่ามีการพูดหรือจูงใจให้ผู้ได้รับแจกในวันนั้นมาสมัคร เป็นสมาชิพรรคภูมิใจไทย รวมถึงไม่มีป้ายชื่อ สัญลักษณ์ ของพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้นามบัตรที่แจกก็ยังไม่มีชื่อพรรค อีกทั้งเมื่อนำฐานข้อมูลสมาชิพรรคมาตรวจสอบก็ไม่พบชื่อบุคคลที่มารับเงิน สงเคราะห์สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวถามว่า การตัดสินครั้งนี้เป็นบรรทัดฐานได้ใช่หรือไม่ว่า ต่อไปรัฐมนตรีสามารถแจกของ ของราชการที่บ้านตัวเองได้ นายสุทธิพล กล่าวว่า ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้ และต้องดูเจตนาด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า การพิจารณาครั้งนี้ กกต.ดูเพียงแค่ข้อเท็จจริงตามกฎหมายไม่ได้ดูเรื่องความเหมาะสมใช่หรือไม่ นายสุทธิพล กล่าวว่า กกต. ดูทั้งสองเรื่อง แต่ที่ร้องมาเป็นเรื่องการใช้ตำแหน่งก้าวก่าย เราต้องเอากฎหมายประกอบข้อเท็จจริง และที่ตนแถลงในวันนี้ก็เป็นไปตามมติ กกต.เท่านั้น

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 6 พฤษภาคม 2552 18:56

------------------------------

กกต.มติเอกฉันท์ ฟอกบุญจง แจกเบี้ยยังชีพที่บ้านไม่ผิด

กกต. มีมติเอกฉันท์เห็นตามที่อนุกรรมการไต่สวน เสนอให้ยกคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายคารม พลทะกลาง ร้องขอให้กกต.สอบนายุบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย...

เมื่อ เวลา17.00น.ันนี้ (6 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงภายหลังการประชุมว่า กกต.มีมติเอกฉันท์เห็นตามที่อนุกรรมการไต่สวน เสนอให้ยกคำร้องกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายคารม พลทะกลาง ร้องขอให้กกต.สอบนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทำการมอบเงินสงเคราะห์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)และผ้าห่มให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อยโดยใช้บ้านพักเป็นสถานที่จัด มอบ

โดยเห็นว่า 1.ไม่ปรากฏหลักฐานเหตุผลเพียงพอที่นายบุญจงใช้ตำแหน่งส.ส.และตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประโยชน์ของตน ของผู้อื่น ของพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 (1 )268 มีผลทำให้สมาชิกสภาพการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงเฉพาะบุคคลตามมาตรา 106 (6) และความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามารตรา 182(7) เพราะคณะกรรมการไต่สวนเห็นว่าการจัดสรรงบประมาณของ พม. เพื่อเป็นเงินอุดหนุนให้ผู้มีรายได้น้อยเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติอยู่ แล้ว และจากการไต่สวนไม่ปรากฏหลักฐาน ข้อเท็จจริงว่า นายบุญจงใช้สถานะตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำในการจัดสรร หรือพิจารณาอนุมัติเงินดังกล่าวอ้างต้องใช้บ้านเพราะหอประชุมติดซ้อมรำ อีกทั้งนายบุญจงได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 22 ธ.ค. 2551 ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้อนุมัติโครงการนี้เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2551

ส่วนกรณีการใช้บ้านพักนายบุญจง เป็นสถานที่แจกนั้น จากการสอบสวนครั้งแรกพบว่าได้มีการจัดเตรียมหอประชุมที่ว่าการอำเภอโชคชัย ไว้ในวันที่ 24 ม.ค. 2552 ซึ่ เป็นวันที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะจะมาตรวจราชการในวันดังกล่าวทำให้ไม่ว่าง ประกอบกับกลุ่มแม่บ้านซ้อมรำบวงสรวงท้าวสุรนารี คาดว่าวันดังกล่าวประชาชนจะเดินทางมาแสดงความยินดีกับนายบุญจง ที่เพิ่งรับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวนมาก ทำให้นายอำเภอโชคชัย พยานชี้แจงว่า กรณีทำให้ต้องจัดหาสถานที่ใหม่ และที่เลือกบ้านพักของนายบุญจง เป็นการตัดสินใจของตนเอง เพราะเมื่อถึงประโยชน์ของประชาชนในการเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอโชคชัย กับบ้านของบุญจงแล้ว บ้านนายบุญจงมีระยะทางที่ใกล้กว่า การเลือกสถานที่ดังกล่าวนายบุญจงจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือสั่งการ อีกทั้งระเบียบว่าด้วยการสงเคราะห์ ของกรมประชาสงเคราะห์ไม่ได้กำหนดสถานที่การจ่ายเงินเป็นการเฉพาะ โดยให้เป็นความสะดวกของเจ้าหน้าที่และประชาชน เพียงแต่ให้การจ่ายจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลแจกนามบัตร-ซื้อผ้าห่มถือเป็น เรื่องส่วนตัว ส่วนกรณีการแนบนามบัตร คณะกรรมการฯเห็นว่าไม่อาจฟังได้ว่านายบุญจงแนบนามบัตรของตนไปพร้อมกับผ้าห่ม และเงิน และไม่อาจฟังได้ว่าทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเงินดังกล่าวเป็นของนายบุญจง หรือใช้อำนาจหน้าที่ของตนจัดสรรเงินมาให้ประชาชน ผ้าห่มที่แจก ที่นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.เพื่อไทย อ้างว่า เป็นของทางราชการ เพราะได้มีรถยนต์ปิกอัพขนผ้าห่มดังกล่าวเข้ามาในบ้านพักนายบุญจง จากการสอบสวนนายบุญจง ชี้แจงว่า ผ้าห่มที่นำไปแจกได้จัดซื้อจากราษฎร ต.บ้านหนองยาลัด โดยอ้างสำเนาภาพถ่าย รวมทั้งสำเนาบิลเงินสด ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่าผ้าห่มที่แจกพร้อมเงินสงเคราะห์ นายบุญจงใช้เงินส่วนตัวจัดหามาไม่ได้เป็นผ้าห่มของทางราชการตามที่มีการกล่าวอ้าง การแจกผ้าห่มโดยใช้เงินซื้อมาจึงเป็นสิทธิที่สามารถดำเนินการได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สถานะส.ส.หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถือว่าไม่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของราชการแต่อย่างใด และกรณีนี้ยังไม่ถือว่าเป็นการแจกทรัพย์สินที่เข้าข่ายจูงใจเพื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้ตน ตามมาตรา 53พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และส.ว. เพราะขณะนั้นการเลือกตั้งเพิ่งจะเสร็จสิ้นไป และยังไม่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่พบหลักฐานจูงใจเข้าสมาชิกพรรคภูมิใจไทย

นายสุทธิพล กล่าวต่ออีกว่า ส่วนประเด็นที่ 2 กกต.เห็นว่าไม่ปรากฏว่า นายบุญจงกระทำการใดเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 22 อันเป็นความผิดตามาตรา 109 ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ตามที่มีการกล่าวหา เพราะจากการไต่สวนไม่มีพยานยืนยันว่านายบุญจงได้มีการพูดในลักษณะจูงใจให้ ราษฎรที่มารับเงินสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคภูมิใจไทยที่นายบุญจงเป็นผู้บริหาร โดยคณะกรรมการไต่สวนได้ตรวจสอบซีดีหลักฐานที่ผู้ร้องนำมามอบให้แล้วไม่ปราฏ ภาพ เสียง หรือแผ่นป้ายชื่อของพรรคภูมิใจ ซึ่งนามบัตรของนายบุญจงที่แจกแม้จะระบุตำแหน่งส.ส.แต่ก็ไม่มีชื่อพรรคภูมิใจ ไทย ประกอบกับคณะกรรมการได้ขอรายชื่อการสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยจากด้าน กิจการพรรคการเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อราษฎรที่มารับเงินสงเคราะห์สมัครเข้าเป็น สมาชิกแต่อย่างใด ชี้ไม่พบเตรียมการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า ส่วนประเด็นที่ 3 กกต.เห็นว่า นายบุญจงไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อ จูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเองหรือผู้สมัครอื่นใด พรรคการเมืองใด ที่จะถือว่าเป็นการเข้าข่ายความผิดมาตรา 53 และไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการให้คุณให้โทษเพื่อประโยชน์เลือกตั้ง ที่เข้าข่ายผิดมาตรา 57 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เนื่องจากจากการไต่สวนไม่มีพยานใดยืนยันว่านายบุญจงได้พูดหรือกระทำการใดให้ ราษฎรที่มารับเงินหรือบุคคลใดที่มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตนเอง ผู้สมัครคนใดหรือพรรคการเมืองใด นอกจากนี้วันเวลาที่มีการมอบเงินก็ยังไม่มีการประกาศของกกต.ให้มีการเลือก ตั้งส.ส. หรือการเลือกตั้งใด การให้สิ่งของ ๆ นายบุญจงจึงไม่เข้าข่ายความผิดดังกล่าว

เมื่อถามว่า มติดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานให้ส.ส.สามารถแจกของที่บ้านตัวเองได้ใช่หรือไม่ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า ต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป การเลือกที่จะแจกของที่บ้านของนายบุญจงเป็นการพิจารณาเรื่องความสะดวก มากกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กกต.ต้องพิจารณาข้อกฎหมายเป็นหลัก เพราะมีการร้องว่านายบุญจงใช้ตำแหน่งที่หน้าที่เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติ ราชการ แต่การจะดูว่าผิดหรือไม่ ก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ ข้อเท็จจริงที่นำสืบมาถ้าไม่พบว่ามีความผิด ก็จะไปเอาผิดเขาไมได้

ไทยรัฐออนไลน์ 6 พฤษภาคม 2552, 19:42 น.

------------------------------

เปิดบันทึกกฤษฎีกา มัดคอบุญจง วงศ์ไตรรัตน์แจกเงินหลวงพร้อมนามบัตร-ส่อเก้ามท.2กระเด็น

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือ มท.2 อาจกลายเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องตายน้ำตื้นเป็นรายแรก

เมื่อนายบุญจงพร้อม นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง และนายอำเภอโชคชัย ร่วมแจกผ้าห่ม พร้อมด้วยเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้จากงบประมาณของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ให้กับผู้ขอรับการสงเคราะห์ ครอบครัวผู้ประสบความเดือดร้อน ตามระเบียบสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย และไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2547 ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา คนละ 500 บาท รวม 100,000 บาท ที่บ้านพักส่วนตัวของนายบุญจงเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่มอบเงินให้แก่ช่าวบ้านคือ นางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ อดีต ส.จ.นครราชสีมา ภริยาของนายบุญจง โดยมีการแจกนามบัตร ระบุชื่อ ส.ส.บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา ซึ่งมีเบอร์โทรศัพท์มือถือพร้อมกันไปด้วย

นายบุญจงกล่าวว่า การมอบเงินช่วยเหลือนี้ ดำเนินการตามระเบียบกระทรวง พม. โดยผู้ที่รับมอบได้ขึ้นทะเบียนกับทางอำเภอ และมีการตรวจสอบรายชื่อเรียบร้อยแล้ว จึงได้มามอบที่บ้านของตน มีนายอำเภอเป็นผู้รับมอบเงินดังกล่าวมาตามระเบียบ และในสัปดาห์หน้าจะมีอีกกลุ่มมอบเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ เพราะการแจกเงินช่วยเหลือยังไม่ทั่วถึง

นายบุญจงกล่าวว่า ส่วนการแจกนามบัตรของตนนั้น ทำมา 7-8 ปีแล้ว และเป็นเรื่องปกติของคนที่นี่ ที่ชาวบ้านก็มักจะขอนามบัตรตน เพื่อติดต่อโทร.ขอความช่วยเหลือสายตรงได้ตลอดเวลา

ผู้สื่อข่าวถามถึงความเหมาะสมในการนำอดีต ส.จ.ที่เป็นภรรยา มาร่วมแจกเงิน นายบุญจงกล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่นักการเมืองท้องถิ่นจะมาร่วมงานช่วยเหลือประชาชน และที่สำคัญก็มีนายอำเภอมาร่วมด้วย เราทำงานร่วมกันตลอดเวลาอยู่แล้ว และการแจกเงินนั้นดีกว่า ที่จะซื้อของแจก เพราะจะทำให้มีปัญหาตามมาอย่างเรื่องปลากระป๋อง แต่การจากเงินผู้ที่ได้รับก็สามารถนำไปใช้สอยตามที่ต้องการได้

ประเด็นของเรื่องนี้คือ การที่นำงบประมาณหลวงมาแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่บ้านของ ส.ส.ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาของนายอำเภอและอธิบดีกรมการ ปกครอง พร้อมกับแจกนามบัตรของตนเองในฐานะ ส.ส. เป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266(1) ที่ห้าม ส.ส. ใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ ของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ในการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของราชการหรือไม่

มติชนออนไลน์ได้ตรวจสอบความเห็นทางกำหมายในเรื่องนี้พบว่า มีบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 573/2551) เคยให้ความเห็นในลักษณะทำนองเดียวกันไว้ว่า อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ตาม และอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำการเช่นนั้นถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญ

รายละเอียดของบันทึกดังกล่าว กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2550 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ตามที่กรุงเทพมหานครได้จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 เสร็จแล้ว ซึ่งมีประเด็นปัญหา คือ การใช้จ่ายงบแปรญัตติของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการวิสามัญที่สภา กรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จะมีการติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่าเป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานคร โดยการเสนอของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในโครงการต่างๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีความเห็นว่า เมื่อมาตรา 284 ว่าด้วยเรื่องสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำบทบัญญัติมาตรา 266 มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ด้วยโดยอนุโลม

โดยบทบัญญัติดังกล่าวได้ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาใช้สถานะ หรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

กรณีการติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่า เป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครโดยการเสนอของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จึงอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำการเช่นนั้นถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย

จากบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวเห็นได้ว่า การติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่าเป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครโดยการ เสนอของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กับการ แจกเงินหลวงพร้อมกับนามบัตรของ ส.ส. มีนัยยะที่ไม่แตกต่างกัน

นอกจากนั้นการนำเงินหลวงยังมาแจกที่ให้แก่ชาวบ้านที่บ้านพักของรัฐมนตรีที่ เป็นผู้บังคับบัญชาของอธิบดีกรมการปกครองและนายอำเภอ แทนที่จะแจก ณ ที่ว่าการอำเภอก็มีนัยยะในลักษณะเดียวกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า เป็นการ เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่ง ผลประโยชน์ และอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำการเช่นนั้นถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย

ดังนั้น ถ้าพรรคฝ่ายค้านต้องการทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง สามารถเข้าชื่อกันจำนวน 1 ใน 10 ของ ส.ส.ที่มีอยู่ ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ถอดถอนนาย บุญจง เพราะมีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญทั้งในฐานะ ส.ส.และรัฐมนตรีตาม มาตรา 91 และมาตรา 182(7) และจะพ่วงการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ฐานการละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอีกกระทงหนึ่งก็น่าจะทำได้

-------------------------------------------------------

รัฐธรรมนูญ ฯมาตรา266

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อ ประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

(2) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ

(3) การให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมืองพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง

โดย มติชน วันจันทร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 19:06 น.

-------------------------------------------------------

"ชวรัตน์"ป้องแจกเงินเรื่องธรรมดา เตือน "บุญจง"อย่าทำอีก-กกต.ชี้ มท2.แจกเงินอาจขัดกม.ป.ป.ช.พร้อมสอบ

ป.ป.ช.เด้งรับพร้อมสอบเมียมท.2แจกเงินแนบ นามบัตร "ชวรัตน์"ระบุแจกเงินเรื่องธรรมดาเตือน"บุญจง"อย่าทำอีก กกต.ชี้ มท.2 แจกเงินอาจขัด ม.266แทรกแซง ขรก. "สุเทพ"ไม่ติดใจชี้ตรวจสอบได้ "เพื่อนเนวิน"บอกแนบนามบัตรไม่เหมาะ เปิดบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกามัดคอเคยวินิจฉัยว่า สมาชิกสภา กทม.เอาเงินหลวงซื้อของ แต่ติดชื่อตัวเองเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญถุกยื่นถอดถอนได้

ป.ป.ช.เด้งรับพร้อมสอบเมียมท.2แจกเงินแนบนามบัตร

นาย ภักดี โพธิศิริ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อป.ป.ช.เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีที่นางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ อดีตสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ภรรยาของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แจกเงินพร้อมสิ่งของสงเคราะห์คนยากจนที่จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา โดยแนบนามบัตรของนายบุญจง ว่า เรื่องนี้ต้องดูคำร้องก่อนให้สอบในประเด็นใด พฤติกรรมแบบใดบ้างที่เข้าข่ายการเป็นเจ้าหน้าที่กระทำผิดโดยทุจริตต่อ หน้าที่ ซึ่งหากคำร้องเข้าข่ายมาตรา 84 และมาตรา 85 ของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 ก็จำเป็นที่ป.ป.ช.จะรับไว้ตรวจสอบ ซึ่งที่ผ่านมา ป.ป.ช.ก็เคยสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ แต่จำไม่ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมาตรา 84 และ 85 ของกฎหมายป.ป.ช.เป็นมาตราที่ระบุเกี่ยวกับรายละเอียดการยื่นคำร้องขอให้ตรวจ สอบเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกร้องจะต้องอยู่ในราชการหรือพ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 2 ปีในวันที่ยื่นคำร้อง โดยคำร้องต้องระบุชื่อผู้ถูกร้อง ตำแหน่ง ข้อกล่าวหา พฤติการณ์ รวมถึงต้องอ้างหลักฐานมาด้วย

"ชวรัตน์"ระบุแจกเงินเรื่องธรรมดาเตือน"บุญจง"อย่าทำอีก

นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้นางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ อดีตสมาชิกสภาจังหวัด(ส.จ.) ภรรยา แจกเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ จากงบประมาณของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่บ้านนายชวรัตน์ คนละ 500 บาท จำนวน 200 คน รวมเป็นเงิน 100,000 บาท โดยมีการแจกนามบัตรที่มีรูปภาพนายบุญจง ว่า ไม่ได้มีการหารือในที่ประชุมเสวนายามเช้าของมหาดไทย แต่การการแจกเงินถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะประชาชนได้รับประโยชน์ จากพม.

เมื่อถามว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงินที่แจก แต่อยู่ที่นามบัตรของนายบุญจง ที่ให้ไปพร้อมกับเงิน นายชวรัตน์ กล่าวว่า เป็นคนละเรื่องเพราะได้สอบถามนายบุญจง แล้ว ว่าเป็นการแจกหมายเลขโทรศัพท์ เพราะประชาชนในพื้นที่ต้องการที่จะติดต่อกับส.ส. หรือรัฐมนตรี โดยตรงเพื่อขอความช่วยเหลือ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่า เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ต้องดูว่าหมิ่นเหม่แค่ไหน ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าการแจกเงินที่บ้านจะทำให้ประชาชนเข้าใจสับสนหรือไม่ ว่าเป็นเงินส่วนตัวของ นายบุญจงเอง นายชวรัตน์ กล่าวว่า นายบุญจง ได้มีการประกาศแล้วว่าแจกเงินจาก พม. ให้ชาวบ้านคนละ 500 บาท ซึ่งได้ตักเตือนนายบุญจง ไปแล้วว่าถ้าเป็นเรื่องหมิ่นเหม่ ต้องอย่าทำอีก

ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านออกมาระบุว่าจะยื่นถอดถอน นายบุญจง นั้น นายชวรัตน์ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะไม่ได้ทำเป็นครั้งแรก และก็ได้ว่ากล่าวตักเตือนไปแล้ว เมื่อถามว่า เท่ากับว่า รัฐมนตรีแจกเงินไม่ผิด แต่ถ้าเป็นส.ส. จึงจะมีความผิดใช่หรือไม่ นายชวรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้พูดแบบนั้น แต่ไม่ว่ารัฐมนตรี หรือส.ส.ก็เป็นผู้แทนราษฎร

"ถาวร"อุ้ม"บุญจง"ไม่ใช่ผู้ดำเนินการอยู่ภายใต้ข้าราชการ

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งการให้ข้าราชการในพื้นที่ แจกจ่ายเงินว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 265 และ266 เพราะเมื่อสำรวจแล้ว เป็นหน้าที่ของทางราชการ จะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่จะรับมอบเงิน และกำหนดวันให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นวันที่นายบุญจงมีความสะดวก โดยที่นายบุญจงไม่ใช่ผู้ดำเนินการ แต่อยู่ภายใต้การดำเนินการของข้าราชการ และเนื่องจากนายบุญจงเป็นส.ส.และเป็นรัฐมนตรี ประชาชนจึงได้ขอความช่วยเหลือ

“วันนั้นบังเอิญนายบุญจงแจกนามบัตร โดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่ตัวนายบุญจง และไม่ได้เย็บติดกับเงินตามที่เป็นข่าว แต่นามบัตรและเงินแยกจากกัน และเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์มือถือ ที่ถือว่าเป็นการติดต่อที่ทันสมัยและรวดเร็ว จึงถือว่า การกระทำดังกล่าวไม่ขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ได้เป็นการหาเสียง และเป็นเรื่องปกติที่นายบุญจง ให้นามบัตรกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับผมก็แจกนามบัตรเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะนายบุญจง ส่วนการแจกที่บ้านไม่ถือว่าผิดอะไร เพราะสะดวกที่ไหนก็แจกที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นศาลาวัดหรือศาลาว่าการอำเภอ เพื่อให้เกิดความสะดวก อีกทั้งประชาชนเองต้องการจะพบส.ส. อยู่แล้ว” นายถาวร กล่าว

เมื่อถามว่าในเมื่อนายอำเภอเป็นผู้เซ็นรับมอบเงิน ทำไมจึงไม่แจกที่ที่ว่าการอำเภอ นายถาวรกล่าวว่า ต้องดูว่าที่ว่าการอำเภออยู่ที่ไหน และที่ใดมีความสะดวกมากว่า

เมื่อถามว่าหากฝ่ายค้านพยายามยื่นถอดถอน ถือว่านายบุญจงเป็นจุดอ่อนทำให้เสถียรภาพรัฐบาลสั่นคลอนหรือไม่ นายถาวรกล่าวว่า เป็นจุดแข็งไม่ใช่จุดอ่อน เพราะถือว่านายบุญจงเป็นผู้ที่เอาใจใส่ประชาชน ถึงลูกถึงคน อำนวยความสะดวก บริการพี่น้องประชาชน ทำให้ฝ่ายค้านกลัวและ มั่นใจว่าหากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายบุญจงจะสามารถชี้แจงต่อรัฐสภาได้ ไม่ทำให้ต้องยุบสภา และหากมีผู้ร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมร่วมกับนายบุญจง เขียนคำชี้แจงต่อป.ป.ช. ยืนยันที่จะเดินหน้าช่วยเหลือนายบุญจง เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่ประชุมเสวนายามเช้าเสร็จ นายบุญจง ได้เดินทางออกจากระทรวงทันที โดยไม่ร่วมให้สัมภาษณ์ กับนายชวรัตน์ อย่างที่ผ่านมา มีเพียงนายถาวร ที่ร่วมแก้ต่างแทน โดยมีเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่านายบุญจง เดินทางไปยังรัฐสภาแล้ว

กกต.ชี้"บุญจง"แจกเงินอาจขัด ม.266แทรกแซง ขรก.

นาย ประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม ถึงกรณีที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แจกสิ่งของ เงิน และบัตรแนะนำตัวให้ประชาชนในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ว่า เรื่องดังกล่าวคงไม่สามารถมองเป็นการเตรียมซื้อเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าได้ เพราะไม่ได้อยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง แต่อาจพิจารณาในเรื่องของการทำหน้าที่ว่าขัดต่อหน้าที่ของรัฐมนตรี ตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานของข้าราชการประจำหรือไม่ได้

อย่างไรก็ตาม นายประพันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีผู้ร้องเรียนเข้ามาอย่างเป็นทางการ หรือมีหลักฐานชัดเจน กกต.คงไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้โดยตรง เพราะอาจถูกมองว่าเป็นการจงใจมุ่งเอาผิดเกินไป ทั้งนี้ หาก ส.ส.คนใดติดใจ ก็สามารถเข้าชื่อ 1 ใน 10 เพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนได้

"สุเทพ"ไม่ติดใจ"บุญจง"แจกเงินสงเคราะห์ ชี้ตรวจสอบได้

นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การแจกเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้และนามบัตรของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ จ.นครราชสีมา อาจเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายและนำไปสู่การถอดถอนตามรัฐธรรมนูญได้ว่า ได้พูดคุยเรื่องนี้กับนายบุญจงแล้ว ทราบว่าเป็นการแจกผ้าห่มตามงบประมาณของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ซึ่งไม่ใช่เงินส่วนตัว และมีคนมาขอนามบัตร ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ จึงไม่ติดใจ แต่หากเกิดการตั้งข้อสงสัย ก็ให้กระบวนการชี้ขาดวินิจฉัยเข้ามาตรวจสอบ

นายสุเทพ กล่าวว่า กรณีนี้คงไม่เป็นปัญหาถึงขั้นต้องกำชับคนในรัฐบาลให้ระมัดระวังผลกระทบที่ อาจสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลได้ เนื่องจากทุกอย่างอยู่ที่เจตนา อีกทั้งรัฐบาลนี้ยึดถือความถูกต้อง หากเมื่อใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องก็จะดำเนินการ

"เพื่อนเนวิน"บอกมท.2แจกเงินหลวงแนบนามบัตรไม่เหมาะ

นาย ศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย กลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคมถึงกรณีที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กลุ่มเพื่อนเนวิน พร้อมด้วยภรรยา คือนางกาญจนาที่เป็นอดีตสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) แจกเงินและสิ่งของสงเคราะห์คนยากจน ที่ ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา โดยแนบนามบัตรของนายบุญจงไปด้วยว่า เพิ่งได้ยินข่าว ยังไม่ได้คุยกับนายบุญจง แต่ถ้าเป็นตามข่าวจริงก็ถือว่าไม่เหมาะสม ซึ่งจะไปพูดคุยกับนายบุญจงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร เป็นการแจกเงินพร้อมนามบัตรจริง หรือแจกเงินแล้วชาวบ้านร้องขอนามบัตรจากนายบุญจงเอง

มติชนออนไลน์ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 17:00:25 น.

ยุบพรรค 'มีใบสั่ง' อดีตตลก.รธน.ข้างมากซุกหุ้นแฉ

ยุบพรรค 'มีใบสั่ง' อดีตตลก.รธน.ข้างมากซุกหุ้นแฉ

คมชัดลึก : 'อดีตตุลาการรธน.' แฉยุบพรรค 'มีใบสั่ง' ถามพวกที่เป็นตุลาการดูได้ จวกคำวินิจฉัย 'น่าเกลียด' อนุฯ'สมานฉันท์ ชง '8 ข้อดับแตกแยก ชูธงหนุนแก้ 237 เลิกยุบพรรค ชี้ ต้นเหตุม็อบฮือ! บอกนักการเมือง 'สงบปาก' ลดอุณหภูมิขัดแย้งได้ ให้กองทัพกลับกรมกอง 'อย่าจุ้นการเมือง'

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 13 พ.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมอนุคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง ของสังคมไทย ซึ่งอยู่ในคณะกรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว. นนทบุรี เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้ใช้เวลา 5 นาที เลือกนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน นายภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธาน นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขานุการ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติร่วมกันว่าจะใช้เวลาในการวางกรอบการทำงาน 2 สัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า การอภิปรายมีความตึงเครียดช่วงหนึ่งเมื่อนายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรมนูญ หนึ่งในเสียงข้างมากที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิของพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้พูดกันคือใบสั่ง ตนเคยเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตอนมีคำสั่งยุบพรรค ขอกราบเรียนเบื้องหลัง ได้ถามเพื่อนฝูงทุกคนแล้วเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค ควรแก้ลงโทษหัวหน้าพรรค เลขาธิการและผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่พอจะเขียนคำวินิจฉัย ปรากฏว่ามีใบสั่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง แต่ว่ามีใบสั่งมา มันสร้างความสับสนให้ผู้พิพากษาทั้งหมดที่เคยเห็นด้วยกับตน คำวินิจฉัยจึงออกมาน่าเกลียดมาก ร่วมทั้งเรื่องโมฆะการเลือกตั้ง และองค์กรอิสระต่างก็เป็นใบสั่งและผลก็ออกมาอย่างที่เขาคาดการณ์ทุก เรื่อง100%

'ซึ่งผมไม่ยอมทำตามใบสั่งจึงไม่เจริญถึงทุกวันนี้ หลายคนที่ทำตามใบสั่งก็เจริญรุ่งเรืองเป็นใหญ่เป็นโตในขณะนี้ ดังนั้นเราต้องหาวิธีพิสูจน์ว่าใบสั่งมีจริงหรือไม่ ถ้ามีต่อไปนี้ต้องเลิกเด็ดขาด' นายศักดิ์ กล่าว

ทำให้นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช อดีตผู้ว่าฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส.ว. โต้ขึ้นว่า อยากถามว่ามีหลักฐานหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ พิจารณาจากคำพิพากษาที่มีความละเอียดมาก แต่ละคนที่นั่งตรงนั้นเป็นผู้มีเกียรติ มีความรู้ มีฐานะทางสังคม ใครจะออกใบสั่งได้ อย่างเก่งออกได้ 1-2 คน แต่ส่วนใหญ่ออกพร้อมกันทั้งคณะเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ นายศักดิ์ไม่ได้ตอบโต้หรือลุกขี้นชี้แจงอะไร รวมถึงอนุกรรมการในห้องประชุมก็ไม่มีใครติดใจซักถามใดๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายส่วนใหญ่ยังเป็นการโจมตีกันไปมาอย่างดุเดือด ระหว่างส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการบริหารของพ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ส.ว. ร่วมทั้งการใช้อำนาจเพื่อองค์กรของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นการประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลมาสู่ความขัดแย้งสู่ปัจจุบัน ขณะที่นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย โต้ว่า ปัญหาคือการรัฐประหารปี2549 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 50 ที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ และตามมาด้วย เรื่อง 2 มาตรฐาน โดยมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ที่นำมาซึ่งการยุบพรรคและ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้มวลชนที่สนันสนุนคนกลุ่มนี้เกิดความไม่พอใจ ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญหากแก้เรื่องพวกนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้

'การผ่อนคลายความขัดแย้งระยะสั้นเร่งด่วน คือ การแก้ไขให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220 คน ที่ไม่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งจะต้องออกกฎหมายช่วยเหลือ และไม่สามารถทำประชามติตัดสิน เพราะกรรมการบริหาร220 ถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงต้องแก้ไขด้วยการออกกฎหมาย จึงอยากให้ที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่' นายประเกียรติ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการฯได้จัดวางแผนการทำงานไว้เป็น 3 แผนประกอบด้วย ระยะสั้น จะระดมข้อเสนอจากองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เครือข่ายสานเสวนา ของสถาบันพระปกเกล้า สถาบันสันติวิธีศึกษา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาคณาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. รวมทั้งได้เชิญแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสื้อแดง มาให้ข้อมูลถึงเป้าหมายความต้องการของคนทั้งสองกลุ่ม

ทั้งนี้ หากการดำเนินการเห็นผลใน 45 วันจะทำให้ผ่อนคลายและลดระดับความขัดแย้งนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองและแก้ไข รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สังคมไทยได้มองเห็นและตระหนัก ในชาติบ้านเมืองมากกว่าตนและพรรคพวกกลุ่ม ทำให้เกิดกระแสที่อยู่ในระดับเป็นเทรนด์ของสังคม เกิดกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานในข้อเสนอนี้ เช่นภาคีสื่อมวลชน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เครือข่ายประชาชนในขนบท หลังจากนั้นรัฐบาลอาจจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ได้

นายตวง กล่าวหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้อภิปรายกันได้สรุป 8 ข้อที่จะนำสังคมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ คือ 1.ทุกฝ่ายควรจะยอมรับก่อนว่ารัฐธรรมนูญทั้งปี 40 และปี 50 ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อน โดยปี 40 มีจุดแข็งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง แต่จุดอ่อนคือความเข้มแข็งทำให้กลไกตรวจสอบไม่ทำงาน ขณะที่ปี 50 มีจุดอ่อนทำให้รัฐบาลอ่อนแอ แต่จุดแข็งอยู่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น 2.จุดที่เป็นปัญหาสำคัญในการเมืองคือบุคคลทางการเมือง ดังนั้นข้อเสนอที่จะผ่อนคลายความขัดแย้งเบื้องต้นคือควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 ไม่ให้มีการยุบพรรคและ ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เพราะจะไปกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนที่สนับสนุนพรรคต้องออกมาต่อสู้ โดยหากเกิดการทุจริตการเลือกตั้งให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิดหรือกรรมการ แต่ไม่ควรยุบพรรค

3.นักการเมืองควรจะลดความร้อนแรงในการวิวาทะทางการเมืองเพื่อลดอุณหภูมิ ความขัดแย้งในสังคม 4.สื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องตระหนักถึงบทบาทที่จะมีส่วนช่วยในการลดบรรยากาศความขัดแย้ง 5.รัฐบาลต้องลดเงื่อนไขความขัดแย้ง ไม่ควรจะให้องค์กรที่ใช้กำลังอย่างกองทัพไปชี้แจงงานของรัฐบาลหรือแจกซีดี การสลายการชุมนุมเพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงลุกขึ้นมาตอบโต้ แต่ควรจะใช้ข้าราชการฝ่ายปกครองอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่แทน

6.ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยในระยะยาว 7.ทำให้ระบบนิติรัฐเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการยุติธรรมแบบ 2 มาตรฐาน และ 8.สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบหรือการแสดงสปิริตทางการเมืองในหมู่นักการ เมืองในกรณีที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิด ไม่ใช่ดันทุรังอยู่ในตำแหน่งจนการต่อต้านลุกลามบานปลาย

ป.ป.ช.ตั้งอนุไต่สวนคำร้องถอดถอน5รมต.'มาร์ค'

ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องขอให้ถอดถอนรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำนวน 5 คน ออกจากตำแหน่ง ด้วยประธานวุฒิสภา ได้มีหนังสือลงวันที่ 23 มี.ค. 2552 ส่งคำร้องของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.พรรคเพื่อไทย และคณะจำนวน 171 คน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ในสภา

ขอให้ถอดถอนนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ออกจากตำแหน่ง กรณีมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงในหลายข้อกล่าวหา

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วมีมติให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องขอให้ถอดถอน ดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง และมอบหมายให้ตนและนายใจเด็ด พรไชยา เป็นกรรมการ ป.ป.ช.ผู้รับผิดชอบสำนวน

คมชัดลึก วันที่ 13 พฤษภาคม 2552