Monday, March 1, 2010

รายงาน : ผลสอบสนช."สุรยุทธ์"รุกเขายายเที่ยง ผิดกฎหมายอาญา-ทำขัดรัฐธรรมนูญ

รายงาน : ผลสอบสนช."สุรยุทธ์"รุกเขายายเที่ยง ผิดกฎหมายอาญา-ทำขัดรัฐธรรมนูญ

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

กรุงเทพธุรกิจ 13 มกราคม 2553

การครอบครองที่ดินและสร้างบ้านพักบนเขายาย เที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมาธิการตำรวจและสิทธิมนุษยชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน และได้รายงานผลการพิจารณาต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรม การตำรวจ และสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงการครอบครองเขายายเที่ยง

ที่ดินบ้านพักเขายายเที่ยง เดิมเป็นของนายเบ้า สินนอก เนื้อที่ 22 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อปี 2536-2537 นายเบ้าขายที่ดินให้กับนายนพดล พิทักษ์วานิชย์ ในราคา 7 แสนบาท และในปี 2540 นายนพดล ขายให้กับ พล.อ.สุรฤทธิ์ จันทราทิพย์ (ขณะนั้นยศ พ.อ.) ในราคา 5 หมื่นบาท กระทั่งปี 2545 พล.อ.สุรฤทธิ์ ยกที่ดินนั้นให้กับ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ โดยเสน่หา

ข้ออ้าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

1.นายเบ้า ได้รับการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรในปี 2534 จำนวน 2 แปลงเนื้อที่ 14 ไร่ 1 แปลง และ 7 ไร่ 2 งานอีก 1 แปลง

2.ได้ครอบครองที่ดินโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

3.ได้มีการครอบครองมาก่อนประกาศกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

4.การครอบครองก่อนวันที่ 30 มิ.ย.2549 อยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์สิทธิจึงไม่ถือว่าผิดกฎหมาย

ประเด็นปัญหาที่ต้องพิจารณา

1.ที่ดินบ้านพัก พล.อ.สุรยุทธ์ บนเขายายเที่ยง อยู่ในเขตป่าสงวนหรือไม่

นายกฤษณะ พฤกษวัน ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดิน กรมป่าไม้ ให้ข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2550 ยอมรับว่าที่ดินบนเขายายเที่ยงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาจากแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) โดยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเตียน เขาเขื่อนลั่น ต.จันทึก อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

2.ที่ดินบ้านพัก พล.อ.สุรยุทธ์ บนเขายายเที่ยง อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ ตามที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 10 และ 17 มี.ค.2535 จำแนกการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ของประเทศ ที่ดินของ พล.อ.สุรยุทธ์ อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ โซน ซี

3.ประเด็นปัญหาที่ว่า นายเบ้าได้เข้าไปบุกรุกในที่ดินบนเขายายเที่ยงก่อนจะมีการประกาศเขตป่าสงวน แห่งชาติหรือไม่ จากภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร ปี 2510 (เอกสาร 4) บริเวณบ้านพัก พล.อ.สุรยุทธ์ ยังเป็นป่าไม้ยังไม่มีบุคคลใดบุกรุก ต่อมามีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ก.ค.2538 ที่ดินบนเขายายเที่ยงจึงมีการบุกรุกหลังจากประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ

4.ประเด็นปัญหาว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ทราบหรือไม่ว่าที่ดินบ้านพักเขายายเที่ยงเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่ง ชาติ โดยตามเอกสารหมายเลข 7 จะเห็นว่ามีข้อความเขียนไว้ว่าเป็นเขตหวงห้าม ของกระทรวงกลาโหม และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2550 ได้ความว่า พื้นที่หวงห้ามของกระทรวงกลาโหม หมายถึง เขตพื้นที่ทหาร พล.อ.สุรยุทธ์ เคยดำรงแม่ทัพภาค 2 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เพราะนอกเหนือจากเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว คือพื้นที่หวงห้ามของกระทรวงกลาโหม (เขตพื้นที่ทหาร)

5.ประเด็นปัญหาว่าที่ดินบ้านพักเขายายเที่ยง เป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.2541 หรือไม่ บ้านดังกล่าวใช้เป็นที่พักตากอากาศไม่ใช่ที่อยู่ หรือที่ทำกินถาวร จึงไม่อยู่ภายใต้กฎบังคับมติ ครม. วันที่ 30 มิ.ย.2541 ทั้งที่บ้านพักบนเขายายเที่ยงยังอยู่ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ (โซนซี) อันต้องรักษาและสงวนไว้ อาจมีราษฎรเข้าไปบุกรุกรัฐก็จะต้องจัดที่ดินทำกินให้ใหม่ และให้ราษฎรย้ายออกจากพื้นที่ ดังนั้น ที่ดินบนเขายายเที่ยงของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงไม่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

6.ประเด็นปัญหาว่าที่ดินบ้านพักบนเขายายเที่ยง ดังกล่าว กรมป่าไม้เข้ามาจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรอาศัยอยู่จริงหรือไม่ จากการสอบถามข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินบ้านพักบนเขายายเที่ยงดังกล่าวไม่มี หลักฐานปรากฏว่ากรมป่าไม้ ได้จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรเข้าอาศัยทำกินแต่อย่างใด

7.ประเด็นปัญหาว่า การพิสูจน์สิทธิของเกษตรกรที่อาศัยทำกิน ตามมติ ครม.วันที่ 30 มิ.ย.2541 เป็นการจัดที่ดินอย่างไรตามมติ ครม.ดังกล่าว ผู้ที่จะพิสูจน์สิทธิได้จะต้องเป็นเกษตรกรที่อาศัยทำกินและตามความจำเป็น เพื่อการครองชีพเท่านั้น

8.ประเด็นปัญหาว่า ที่ดิน พล.อ.สุรยุทธ์ บนเขายายเที่ยง มีเอกสารสิทธิหรือไม่ พบว่าที่ดินและบ้านพัก พล.อ.สุรยุทธ์ มีเพียง ภทบ.5 คือหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นเอกสารสิทธิตามกฎหมายที่ดิน ที่จะนำมาอ้างสิทธิการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองได้

9.ปัญหาว่า พล.อ.สุรยุทธ์ นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และอธิบดีกรมที่ดิน ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อใด

ตามเอกสารหมายเลขที่ 16 วันที่ 27 ธ.ค.2549 พล.อ.สุรยุทธ์ ทราบเรื่องนี้แล้ว และในวันนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ อธิบดีกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ ด้วย เรื่องนี้เป็นข่าวแพร่หลาย และมีการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังนั้น ต้องถือว่า พล.อ.สุรยุทธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และอธิบดีกรมที่ดิน ทราบเรื่องนี้ ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.2549 จนถึงวันที่ 11 ม.ค.2550

10.ประเด็นที่ว่า นายกรัฐมนตรี (สุรยุทธ์) และรัฐมนตรี (นายเกษม) เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 948/2510 นั้น รัฐมนตรีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย

บทสรุป

ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นทรัพยากรแผ่นดินที่สงวนไว้ให้กับประชาชนใช้สอยร่วมกัน ป่าสงวนแห่งชาติจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2515 (เอกสารหมายเลข 20) ป่าสงวนแห่งชาติ แม้บุคคลจะเข้าไปครอบครองก่อนประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม แต่ต่อมามีการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่ผู้ครอบครองไม้แจ้งสิทธิตามมาตรา 12 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงป่าสงวนแห่งชาติใช้บังคับถือว่าผู้ครอบครองนั้นสละ สิทธิ์หรือประโยชน์นั้น ถ้าครอบครองอยู่ต่อไปจะมีความผิดตามมาตรา 14 และมาตรา 31 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535 (เอกสารหมายเลข 19)

นอกจากนี้ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ จะต้องออกเป็นกฎกระทรวง ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมาย บุคคลจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะบุคคลจะต้องทราบกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นกรณีกฎหมายปิดปาก

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ และ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตราวดี กระทำความผิดตามมาตรา 14 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และในเรื่องนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ถือเป็นเจ้าพนักงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเจ้าพนักงาน อธิบดีกรมป่าไม้และหัวหน้าป่าไม้เขตจังหวัดนครราชสีมา ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น แต่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบหรือสั่งการให้มีการดำเนินคดีกลับปล่อยปละละเลย ให้ระยะเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

นอกจากนี้ ยังเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองและทางราชการตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วย

กรณีดังกล่าวเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติซึ่ง ในกรณีเดียวกันนี้ปรากฏว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีทั่วประเทศหลายร้อย หลายพันคดี แต่ปรากฏว่าที่ดินบ้านพักบนเขายายเที่ยงกลับไม่มีการดำเนินคดีใดๆ เลย ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ระบุว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันอัน เป็นสิทธิที่คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

http://www.bangkokbiznews.com/2010/01/13/news_30140999.php?news_id=30140999

No comments:

Post a Comment