Saturday, March 6, 2010

แกะพิรุธ เครื่อง"จีที 200-อัลฟ่า 6" "ปู่จิ้น"ซื้อเงียบจาก บ.เครือนักการเมือง 100 ล้าน หล่นกระเป๋าใคร

แกะพิรุธ เครื่อง"จีที 200-อัลฟ่า 6" "ปู่จิ้น"ซื้อเงียบจาก บ.เครือนักการเมือง 100 ล้าน หล่นกระเป๋าใคร? (ตอน 1)

วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 12:35:04 น.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

แกะรอยปมจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด- สารเสพติด จีที 200 และ อัลฟ่า 6 ของหน่วยงานรัฐ พบกระทรวงมหาดไทยของ ปู่จิ้น - ชวรัตน์ ชาญวีรกูล สั่งซื้อ 3 ลอตกว่า 500 เครื่อง ราคาไม่เท่ากัน คิดส่วนต่างราคาเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท พิรุธเอกชน 2 รายเป็นเครือข่ายเดียวกันของนักการเมืองดัง

กรณีเครื่องตรวจวัตถุระยะไกล Global Technical (จีที 200) กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงหรือไม่

ล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี สั่งให้คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการระดมผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นข้อยุติและยอมรับจากทุกฝ่ายถ้าผลพิสูจน์ออกมาแล้วใช้ไม่ได้ ก็ต้องตรวจสอบว่าการจัดซื้อมีความโปร่งใส "ถ้าหากว่ามันใช้ไม่ได้คงต้องย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปอีกครั้ง แต่เฉพาะกรณีของจีทีจะมีหลายยี่ห้อที่มีลักษณะคล้ายๆกันอยู่เฉพาะจีทีจะมีลูกค้าอยู่ เป็น 10 ประเทศ มีการซื้อกันค่อนข้างแพร่หลายพอควรทั้งที่เป็นจีทีและยี่ห้ออื่นๆ ของไทยมียี่ห้อจีทีกับอัลฟ่า-6" นายกฯกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์นักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ออกมาตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีประสิทธิภาพ มีความผิดพลาดในการตรวจหาวัตถุระเบิด ทำให้เจ้าหน้าที่และประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อีกทั้งหลายประเทศเลิกใช้แล้ว

ขณะที่คุณหญิงพรทิพย์ โรจน์สุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ผู้มีประสบการณ์ตรงกับเครื่อง จีที 200 ออกมาตอบโต้ว่าเครื่องมือชนิดนี้มีความแม่นยำสูงมาก โอกาสผิดพลาดมาจาก 2 ปัจจัยคือ 1.ผู้ใช้มีความเหนื่อยล้า กับ 2.ใส่การ์ดผิดชนิด "เนื่องจากจีที 200 ใช้พลังสนามแม่เหล็กจากตัวคนใช้เพื่อค้นหาสนามแม่เหล็กของสสารที่ต้องการตรวจจับ ด้วยเหตุนี้คนใช้งานต้องมีร่างกายพร้อม ถ้าเหนื่อยล้า อดนอน หรือไปดื่มเหล้ามาจะใช้ไม่ได้ผลเลย" หมอพรทิพย์กล่าว


มีหน่วยงานหลายแห่งถูกระบุว่า สั่งซื้อ จีที 200 และ อัลฟ่า 6ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร
ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยนั้นนายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ รองอธิบดีกรมการปกครองออกมายอมรับว่า ได้สั่งซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 จำนวน 726 เครื่อง ราคาเครื่องละ 7.2 แสนบาท เพื่อส่งมอบให้อำเภอตามแนวชายแดนได้ใช้ตรวจหายาเสพติดโดยนำเข้าจากประเทศอังกฤษ ซึ่งผลดำเนินการได้ผลน่าพอใจ สามารถตรวจสอบทะลุฝาผนังกำแพงได้ระยะทางถึง 200 เมตร

ล่าสุด "ประชาชาติธุรกิจ"ตรวจสอบพบหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยจัดซื้อ อัลฟา-6 อย่างน้อย 3 ครั้ง
ครั้งแรกจัดซื้อโดยกรมการปกครอง เมื่อวันที่12 มี.ค.2552จำนวน 63 เครื่อง วงเงิน 33,450,000 บาท จากบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ตกราคาเครื่องละ 530,952 บาท
ครั้งที่ 2จัดซื้อโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ที่ทำการปกครองจังหวัดภูเก็ต)เมื่อวันที่27 ก.ค. 2552จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน1,100,000บาทจากบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง ตกราคาเครื่องละ 550,000 บาท
ครั้งที่ 3 จัดซื้อลอตใหญ่โดยกรมการปกครอง เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552 จำนวน 479 เครื่อง วงเงิน349,430,500 บาทจาก บริษัท เปโตรกรุงเทพฯ จำกัด ตกราคาเครื่องละ 729,500 บาท (ราคาใกล้เคียงกับที่นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ชี้แจงกับสื่อมวลชน)
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท เปโตรกรุงเทพฯ จำกัด มีความเชื่อมโยงกันโดยผู้ถือหุ้นอย่างน้อย1 คนถือหุ้น เป็นกรรมการทั้ง 2 บริษัท บริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่าขายเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนบริษัท เปรโตกรุงเทพฯ จำกัด ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง(อ่านข้อมูลประกอบด้านล่าง) น่าสังเกตว่า การจัดซื้อครั้งที่ 3 มีราคาสูงว่าครั้งแรกกับครั้งที่ 2เครื่องละประมาณ 2 แสนบาท เท่ากับมีส่วนต่างเกิดขึ้นเกือบ 100 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2551กองพลาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งซื้อ เครื่อง อัลฟ่า 6 จำนวน 4 เครื่องจาก บริษัท เอ เอส แอล เอ็ม เทรดดิ้ง จำกัด (ของนางธัญจิรา สมบูรณ์ศิลป์)ในราคา 1,960,000 บาท หรือเครื่องละ 490,000 บาท เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวเดินทางไป ตรวจสอบที่ตั้งบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เลขที่ 151/135 หมู่ 9 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพฯพบว่าอยู่ในหมู่บ้านราชพฤกษ์ ย่านพุทธมณฑล สาย 2 มีป้ายเขียนข้อความเป็นบริษัทยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด แต่ภายในบ้านไม่ได้แสดงว่าขายเครื่องปรับอากาศแต่อย่างใด
(ตอนหน้า เปิดข้อมูลการจัดซื้อ เครื่อง จีที 200 ของกองทัพบก แบบละเอียดยิบ ? )
.........

ผู้ถือหุ้น 2 บริษัท - เครือข่ายเดียวกัน
บริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่24 กรกฎาคม 2540ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ไฟฟ้า ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาทที่ตั้งเลขที่ 151/135 หมู่ 9 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพฯ

นายศิริพงษ์ บวรวัฒนะ และ นายวรวิทย์ บวรรัตนะ ถือหุ้นใหญ่ในช่วงก่อตั้ง
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 (ก่อนทำสัญญาจัดซื้อครั้งแรก) นายณธกรภูชัชวนิชกุล ถือกหุ้นใฆย่ 29,750 หุ้น นายวรวิทย์ บวนรัตนะ 5,875 หุ้น นายชูเกียรติ ภูชัชวนิชกุล24,275 หุ้นนายคำนึง สุพรรณ์ 15,000 หุ้นนายเฉลิมพล กาญจนากร 15,000 หุ้นนายชาญเดช ภูชัชวนิชกุล 10,000 หุ้นและนายสนิตย์ ลหายเจริญ 100 หุ้นมีนายชูเกียรติ ภูชัชวนิชกุล เป็นกรรมการ
จากการตวรจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552บริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัดเป็นผู้ขายกล้องวีดีโอกระดุม จำนวน 115 ชุดวงงเน6.7 ล้านบาท ให้ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และขายกล้องตรวจจับรังสีความร้อนติดตั้งประกอบปืน M 16ให้กรมการทหารช่าง จังหวัดราชบุรีวงเงิน9 ล้านบาท เมื่อวันที่30 กันายน2552 อีกด้วย
ส่วนบริษัท เปโตรกรุงเทพฯ จำกัด ก่อตั้งวันที่18 ตุลาคม 2536ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ทุนจดทะเบียน 130 ล้านบาทที่ตั้งเลขที่580/1 ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯเดิมบริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิงจำกัด ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับ นายดำรงค์ รัตนลีลาศ และนายอดุลย์ ฉายรัตน์ และนายสมศักดิ์ เอกเอื้อมณี
วันที่ 24 มีนาคม 2551 นางฉัตรแก้ว คชเสนี นางกชกรณ์ พิบูลย์ธรรมศักดิ์ถือหกุ้นคนละ 350, 000 หุ้น นางสาวภัคจิรา รัชกิจประการ250,000 หุ้นนายพิบูลยอัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ นางสาวจันทวรัจฉร์ จันทรศารทูล นางศุภวรรณ รัชกิจประการ นางสาวรุ่งรัศมี โชคอนันต์ตระกูล นายวิชัย แซ่โก คนละ 60,000 หุ้นและนางสรัญธร จันทรโชติ คนละ 50,000 หุ้น มีนายพิทักษ์ รัชกิจประการ และนางส่าวภัคจิรา รัชกิจประการ เป็นกรรมการ
วันที่ 30 มีนาคม 2552 นายพิทักษ์ รัชกิจประการ นางกชกรณ์ พิบูลย์ธรรมศักดิ์ถือหุ้นใหญ่ คนละ 350,000 หุ้นนายประทีป มนตรี 250,000 หุ้นส่วนคนอื่นไม่เปลี่ยนแปลง นายประทีป มนตรี เป็นกรรมการ
วันที่ 6 มิถุนายน 2552 (ก่อนทำสัญญากับกรมการปกครอง)นายประทีป มนตรีถือหุ้นใหญ่ 700,000 หุ้น นายชูเกียรติ ภูชัชวนิชกุล ถือ 300,000 หุ้นและ นายพิบูลยอัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ ถือหุ้น 300,000 หุ้น นายประทีป มนตรี เป็นกรรมการ

จาการตรวจสอบพบว่าหน่วยงานที่ บริษัท เปโตรกรุงเทพฯ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่
โครงการจ้างเหมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณแหลมโพธิ์ทะเลสาบสงขลา ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมกับ บริษัท อส.ซี.เอส.ดีเวลลอปเม้นท์ วงเงิน 47.5 ล้านบาท (ปี2547)ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
งานปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะเทศบาลเมืองชุมพรระยะที่2วงเงิน55.8 ล้านบาท(ปี 2548)เทศบาลเมืองชุมพร
งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ของเทศบาลเมืองชุมพร วงเงิน53.6 ล้านบาท(ปี 2549)
ก่อสร้างโรงเรียนอนุบาลในฝันเทศบาลนครหาดใหญวงเงิน 38.4 ล้านบาท(ปี 2550)
ทั้งนี้ บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง นั้นเคยบริจาคเงินให้พรรคราษฎร ขณะนายวัฒนา อัศวเหม เป็นหัวหน้าพรรคและเคยเป็นผู้บริจาคเงินให้ประชาธิปัตย์เมื่อหลายปีก่อนอีกด้วย ..........

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1265257568&grpid=02&catid=no

----------------------------------------------------------------

ตอน 3

วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 16:12:58 น.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

แกะพิรุธเครื่อง "จีที 200" กองทัพบก "ยุคบิ๊กป๊อก" พลเอกอนุพงษ์ เหล่าจินดา ผบ.ทบ. สั่งซื้อกระจาย 466 เครื่อง จาก บริษัท "AVIA SATCOM" อันเป็นบริษัทก๊วนพลเอก นี่อาจเป็นเหตุที่ บิ๊ก ๆ ต่างออกมาปกป้อง จีที 200 อย่างออกนอกหน้า

.. ตอนที่แล้ว ประชาชาติธุรกิจแกะรอยปมจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด- สารเสพติด จีที 200 และ อัลฟ่า 6 ของหน่วยงานรัฐกระทรวงมหาดไทยของ ปู่จิ้น - ชวรัตน์ ชาญวีรกูล สั่งซื้อ 3 ลอตกว่า 500 เครื่อง ราคาไม่เท่ากัน คิดส่วนต่างราคาเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท พิรุธเอกชน 2 รายเป็นเครือข่ายเดียวกันของนักการเมืองดัง

จากการตรวจสอบ เราพบว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดซื้อเครื่องตรวจเจ้าปัญหา "อัลฟา-6"จากเอกชน 2 รายเครือข่ายเดียวกันคือบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท เปโตรกรุงเทพฯ จำกัดรวม 542 เครื่อง วงเงินกว่า 380 ล้านบาท

หน่วยงานทางด้านความมั่นคงอีกแห่งที่ใช้บริการเครื่องตรวจเจ้าปัญหาด้วยเหมือนกันคือกองทัพบกเพียงแต่มิใช่ "อัลฟ่า 6" หากเป็น "จีที 200" ล้วนๆ
ล่าสุด"ประชาชาติธุรกิจ"ตรวจสอบพบว่า กองทัพบกได้สั่งซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด,อาวุธและวัตถุระเบิด ยี่ห้อ "จีที 200" จากประเทศอังกฤษ อย่างน้อย8 ครั้งรวม 466 เครื่อง เป็นเงินทั้งหมด 419.5 ล้านบาท (เท่าที่ตรวจพบ)
ครั้งแรกปลายเดือนกรกฎาคม 2550 จำนวน 2 เครื่อง ๆละ 950,000 บาท เป็นเงิน 1,900,000 บาท
ครั้งที่ 2 วันที่ 18 ส.ค. 2551จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 900,000 บาทเป็นเงิน1,800,000 บาท
ครั้งที่ 3 วันที่ 3 ก.ย. 2551จำนวน 19 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน17,100,000 บาท
ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ก.ย. 2551จำนวน 18 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 16,200,000 บาท
ครั้งที่ 5 วันที่ 30 ก.ย. 2551 จำนวน44 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาทเป็นเงิน39,600,000 บาท
ครั้งที่ 6 วันที่ 27 ก.พ. 2552จำนวน 222 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 199,800,000 บาท
ครั้งที่ 7 วันที่8 เม.ย. 2552 จำนวน 129 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน116,100,000 บาท
ครั้งที่ 8 วันที่ 28 เม.ย. 2552 จำนวน 30 เครื่อง ๆ ละ 900,000 บาท เป็นเงิน 27,000,000 บาท
ทั้ง 8 ครั้ง เป็นการจัดซื้อผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด เพียงรายเดียว

บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด (AVIA SATCOM CO.,LTD.)ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อมาเพิ่มทุนอีก 4 ครั้ง ล่าสุดวันที่ 5 มิถุนายน 2552 เพิ่มเป็น 250 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่174/68-71 หมู่ 9 ถนนวิภาวดี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯมีนายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ ถือหุ้นใหญ่ 2,399,999 หุ้น จากทั้งหมด 2,500,000 หุ้น

นายสุทธิวัฒน์มีบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านอุปกรณ์สื่อสาร เทคโนโลยี ซอฟแวร์ อีกอย่างน้อย 4 บริษัท ได้แก่บริษัท ลิบราเวย์ จำกัด , บริษัท แอโรว์เทคนิค เอวิเอชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท เอวิเอ ซิสเต็ม จำกัดและบริษัท เอวิเอ ซาบ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา (ให้บริการโครงข่าวสื่อสารและอุปกรณ์ซอฟแวร์)

หุ้นส่วนธุรกิจของนายสุทธิวัฒน์ คือ พล.อ.อภิชิต กานตรัตน์ อดีตผู้ทรงวุฒิพิเศษกองบัญชาการทหารสูงสุดเรืออากาศเอก ขจรศักดิ์ วัฒนางกูรและกลุ่มบริษัท ซาบ จากประเทศสวีเดน (ตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่องบนกริฟเฟ่นให้กองทัพอากาศ)โดย พล.อ.อภิชิตยังเป็นกรรมการ บริษัท เอวิเอ ซาบ เทคโนโลยี จำกัดอีกแห่งหนึ่ง บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ทำการค้ากับกองทัพมานาน ตั้งแต่ปี 2542 เคยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)กองบัญชาการทหารสูงสุด, กรมสื่อสารทหารอากาศ กองทัพอากาศ , กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก นับสิบรายการ อาทิ

เครื่องมือสื่อสารเพื่อใช้ราชการกองกำลังเฉพาะกิจ 976 ไทย/อีรักวงเงิน 25.1 ล้านบาท, ชิ้นส่วนซ่อมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 47 วงเงิน19.3 ล้านบาท , รถวิทยุในระบบควบคุมอากาศยานทางยุทธวิธีจำนวน39.2 ล้านบาท , ซ่อมบำรุงเรดาร์แบบเคลื่อนที่แบบgiraffe34.2 ล้านบาท, ซื้อระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(VOIP) จำนวน5.2 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากขาย "จีที 200" ให้กองทัพบกเอกชนรายนี้ยังขายเครื่องมือชนิดเดียวกันให้หน่วยงานอื่นอย่างน้อย 2 แห่ง ได้แก่
กรมศุลกากร จำนวน 6 เครื่องเมื่อวันที่19 มิถุยายน 2552ราคา 2,560,000 บาท(เครื่องละ 426,666 บาท)
และกรมราชองครักษ์จำนวน 3 ชุด เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2552ราคา 3,600,000 บาท (ชุดละ 1,200,000 บาท)

กล่าวเฉพาะกองทัพบก เมื่อตกเป็นข่าว ดูเหมือนผู้นำระดับสูงไม่ค่อยมั่นใจกับประสิทธิภาพของเครื่องมือชนิดนี้เท่าใดนัก ไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำ และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลกระบวนการจัดซื้ออย่างตรงไปตรงมา

ล่าสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา (บิ๊กป๊อก) ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 กรณีการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพบก โดยเฉพาะเครื่องตรวจหาสารวัตถุระเบิดจีที 200และเรือเหาะตรวจการณ์ สำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจงานด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า

"ไม่มีปัญหา ยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกทั้งหมด มีแนวทางคือว่าดีไม่ดีอย่างไรก็พิสูจน์ส่วนจะอ้างว่าการจัดซื้อสุจริตหรือทุจริตนั้น ถือเป็นคนละกรณีกัน ถ้าจะบอกว่าซื้อแล้วมีผลประโยชน์อย่างไร ก็ต้องดำเนินการ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนของกองทัพบกพร้อมพิสูจน์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สืบสวนสอบสวนมา หากทำผิดจริงก็ปลด เราทำทุกอย่างโปร่งใสเพราะเราอยู่ในสังคม ส่วนการใช้งาน GT 200 ในตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ทำงานตามปกติ"

ขณะที่เรืออากาศเอก ขจรศักดิ์ วัฒนางกูร ผู้อำนวยการบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า เครื่อง จีที 200 ที่บริษัทจำหน่ายให้หน่วยงานราชการทำงานได้ดี และไม่มีปัญหาร้องเรียน อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในเรื่องประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร ? อีกไม่นานคงรู้กัน

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1265350287&grpid=01&catid=04

No comments:

Post a Comment